Global South-South Development (GSSD)

Expo 2022

search
ร่วมประกวด
คลิปวิดีโอ
สร้างสรรค์ผลงานให้เชื่อมโยงกับหัวข้อหลัก
ของงาน GSSD Expo 2022

กิจกรรมการแข่งขัน เพื่อเปิดตัวนิทรรศการออนไลน์ของไทย (Thailand Virtual Exhibition) เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๕

  ประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นเจ้าภาพร่วมกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific – ESCAP) และสำนักงานสหประชาชาติเพื่อความร่วมมือใต้-ใต้ (United Nations Office for South-South Cooperation – UNOSSC) จัดงาน Global South-South Development Expo 2022 (GSSD Expo 2022) ภายใต้หัวข้อหลัก “Advancing South-South and Triangular Cooperation for Sustainable COVID-19 Recovery: Towards a Smart and Resilient Future” งาน GSSD Expo 2022 ซึ่งเป็นงานระดับโลกโดยมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ กันยายน ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (United Nations Conference Centre – UNCC) กรุงเทพฯ งานดังกล่าวเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีด้านการพัฒนาระหว่างประเทศต่าง ๆ ของ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนความร่วมมือใต้-ใต้และไตรภาคี (South-South and Triangular Cooperation) ซึ่งรวมถึงภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาและทุกองค์กรภายใต้ระบบสหประชาชาติ ทั้งนี้ งาน GSSD Expo ครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๑๑ และเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 

  กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดงาน GSSD Expo 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงบทบาทที่แข็งขันด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา และการเผยแพร่การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy – SEP) ของไทยเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular Green Economy – BCG) ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาวในยุคหลังสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19)

  เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19 และเชิญชวนประชาชนทั่วไป ติดตามและเข้าร่วมงาน GSSD Expo 2022 คณะเจ้าภาพได้จัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ ต่อเนื่องไปจนถึงกิจกรรมหลักแบบตัวต่อตัว (in person) ในเดือนกันยายน ๒๕๖๕ โดยกิจกรรมสำคัญที่ไทยจะดำเนินการคือการจัดทำนิทรรศการออนไลน์ (Thailand Virtual Exhibition) ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวในเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ โดยจะจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพ GSSD Expo 2022 ผ่านการแข่งขัน ๓ รายการ ได้แก่ (๑) การประกวดคำขวัญ (๒) การประกวดภาพถ่าย และ (๓) การประกวดคลิปวีดิทัศน์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดงานและการเป็นเจ้าภาพของไทยในวาระสำคัญนี้ โดยผู้สนใจแต่ละคนสามารถสมัครเข้าร่วมแข่งขันได้มากกว่า ๑ รายการ ตามรายละเอียดของแต่ละกิจกรรมที่กำหนด

การประกวดคลิปวิดีโอ

ขอเชิญชวนสงคลิปวิดีโอเขาประกวด โดยสามารถเลือกหัวขอที่ตนถนัดหนึ่งหัวขอ จากขางลางนี้ 

  • ความร่วมมือไตรภาคี (ความร่วมมือสามฝ่าย) (Triangular Cooperation)
    เนื้อหาคลิปวิดีโอเน้นด้านต่างๆ เช่น การร่วมมือระหว่าง 3 ฝ่าย/ประเทศ จะช่วยให้ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร หรือ ข้อดีของการร่วมมือระหว่าง ๓ ฝ่าย/ประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา เป็นต้น )
  • ความรวมมือเพื่อการพัฒนาดานสาธารณสุข และ COVID-19 (COVID-19 & Public Health)
    เนื้อหาของคลิปวีดีโอเน้นด้านต่าง ๆ เช่น รับมืออย่างไรกับโควิดให้มีประสิทธิภาพ การทำงานของบุคลากรด้านแพทย์/สาธารณสุขในการรับมือกับโควิด -19 วิธีสู้ภัย/ป้องกันโควิด-19 ประเทศต่างๆ/ภาคประชาชน/ภาคเอกชน/กลุ่มประชาชนต่างๆ จะร่วมมือกันอย่างไรให้การสู้ภัยโควิด-19 ได้ผลดี เป็นต้น)
  • โครงการอาสาสมัครเพื่อนไทย (Friends from Thailand (FFT) Volunteer Program)
    เนื้อหาของคลิปวิดีโอ เช่น ประโยชน์ในการไปเป็นอาสาสมัคร อาสาสมัครช่วยทำให้คนต่างประเทศรู้จักไทยในแง่มุมต่าง ๆ อย่างไร , สร้างความรู้จักมักคุ้นระหว่างประชาชนอย่างไร เป็นต้น
  • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy-SEP)
    เนื้อหาของคลิปวิดีโอ เช่น ชุมชนที่ยั่งยืน อยู่อย่างพอเพียง และเห็นในมุมต่าง ๆ อย่างไรเป็นต้น
  • ความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development-HRD)
    เนื้อหาของคลิปวิดีโอ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการศึกษา/ทุนการศึกษา/ฝึกอบรม จะทำให้พัฒนาคน พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ให้ยั่งยืนได้อย่างไร ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศด้านพัฒนาคนสำคัญอย่างไร จะทำด้วยวิธีใดบ้าง ,ควรเน้นด้านใด หรือทักษะ ความรู้ด้านใดเพื่อพัฒนาคน เศรษฐกิจ และสังคม เป็นต้น

เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เชื่อมโยงกับหัวข้อหลัก (Theme) ของงาน GSSD Expo 2022 คือ “Advancing South-South and Triangular Cooperation for Sustainable COVID-19 Recovery: Towards a Smart and Resilient Future (เพื่อส่งเสริมความร่วมมือใต้-ใต้และไตรภาคี ในการฟื้นฟูการพัฒนาที่ยั่งยืนจากผลกระทบของสถานการณ์ COVID-19 และเผยแพร่ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)” (สามารถศึกษารายละเอียด/ข้อมูลแต่ละหัวข้อจากเว็บไซต์ TICA และแหล่งอื่น ๆ ได้) 

(ดูข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละหัวข้อได้ที่แหล่งต่างๆ รวมทั้ง https://tica-thaigov.mfa.go.th/th/index)

 

๑. คุณสมบัติผู้เข้าประกวด

ประชาชนที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๓ ปีขึ้นไป ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยม / ปวส./ ปวช. นักศึกษามหาวิทยาลัย ประชาชนทั่วไป

๒. หลักเกณฑ์การประกวด

๒.๑
ต้องเป็นคลิปวีดิทัศน์ที่ถ่ายทำขึ้นใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาใช้ หากเนื้อหา ภาพ และอื่น ๆ ในคลิปวีดิทัศน์เกี่ยวข้องกับบุคคล/หน่วยงานอื่น ต้องได้รับอนุญาตและมีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง (หากมี) จากบุคคล/ หน่วยงานนั้น ๆ
๒.๒
ผลงานต้องไม่เคยได้รับรางวัลการประกวดใด ๆ มาก่อน
๒.๓
เนื้อหาในคลิปวีดิทัศน์ต้องไม่มีการพาดพิงเรื่องการเมือง/ก่อให้เกิดความขัดแย้งใด ๆ และต้องไม่ลบหลู่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันหลักของประเทศ บุคคล หรือหน่วยงานใด ๆ และไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นการดูถูก ดูหมิ่น เสียดสี และก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม รวมทั้งไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรม จริยธรรม ความสงบเรียบร้อยหรือหลักศาสนาใด ๒.๔ ต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า ๒ นาที แต่ไม่เกิน ๕ นาที (รวม Intro, Title และ End Credit)
๒.๔
ต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า ๒ นาที แต่ไม่เกิน ๕ นาที (รวม Intro, Title และ End Credit)
๒.๕
คณะผู้จัดการประกวดสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับพิจารณา/รับผลงานแข่งขันที่ขัดต่อเงื่อนไข/หลักเกณฑ์ที่กำหนด
๒.๖
สามารถส่งผลงานเข้าประกวดคนละไม่เกิน ๑ ชิ้นผลงาน โดยระบุชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่สามารถติดต่อได้
๒.๗
ผู้เข้าแข่งขันที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ถือว่าได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองแล้ว
๒.๘
ทุกผลงานที่ส่งเข้าประกวด ถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และผู้สร้างสรรค์ผลงาน โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ มีสิทธิ์ที่จะใช้และเผยแพร่ รวมทั้งให้เจ้าภาพร่วมและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน GSSD Expo ภายใต้การกำกับดูแลของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ใช้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และอื่น ๆ ตามขอบข่ายนิทรรศการออนไลน์ของไทย การจัดงาน GSSD Expo และที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้สร้างสรรค์ผลงาน

๓. เกณฑ์การตัดสิน (๑๐๐ คะแนน)

๓.๑ แนวคิดและเนื้อหา  (๕๐ คะแนน)

  • ใหความรูและประโยชน
  • นําไปใชตอยอดได
  • การเรียบเรียงและการสื่อสารเขาใจงาย
  • ความนาสนใจในภาษาและบท
  • เนื้อหาสดใหมไมซ้ำใคร

๓.๒ ความคิดสร้างสรรค์ (๒๕ คะแนน)

  • Firstimpression สรางความนาสนใจเมื่อเปดดูครั้งแรก
  • Attention สรางความนาสนใจใหสามารถดูจนจบ
  • Creativity ความคิดสรางสรรคในการนําเสนอโดยรวมเทคนิคพิเศษตางๆรวมทั้งการตัดตอ
  • Special effects ความแปลกใหมในการนําเสนอการใชเสียงดนตรีและลูกเลนตางๆ

๓.๓ เทคนิคการถ่ายทำและนำเสนอ (๒๕ คะแนน)

  • ความสมบูรณของภาพแสงสีและเสียง
  • รูปภาพ/วิดีโอมีความสวยงามนาดึงดูด
  • เทคนิคการตัดตอ

๔. รางวัลการประกวคลิปวิดีโอ

๔.๑
รางวัลชนะเลิศ ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
๔.๒
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
๔.๓
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร

๕. กำหนดการ

๕.๑
เปิดลงทะเบียนและอัพโหลดคลิปวีดิทัศน์ ตั้งแต่วันนี้ – ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๕
๕.๒
คณะกรรมการคัดเลือกคลิปวีดิทัศน์ ๕๐ อันดับแรก ช่วงสัปดาห์ที่ ๒ ของเดือนมีนาคม ๒๕๖๕
๕.๓
ประกาศผู้ชนะการประกวดคลิปวีดิทัศน์ ในวันเปิดตัว Thailand Virtual Exhibition ช่วงปลายเดือนมีนาคม ๒๕๖๕

***การส่งผลงานเข้าแข่งขัน ให้ถือว่าผู้เข้าร่วมแข่งขันได้ยอมรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุไว้แล้ว***

Video clip CONTEST

register & questions

As we build back from the crisis, international
cooperation is more crucial than ever